Skip to main content

สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน

กรณีทันตกรรม

กรณีทันตกรรม (ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และใส่ฟันเทียม)
  
       ตามประกาศของคณะกรรมการการแพทย์ตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 เรื่อง หลักเกณฑ์ และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน (ทันตกรรม) ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2553 โดยประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554
       ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีทันตกรรม เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตน ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศ ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป (ประกาศกรณีทันตกรรม)    
  
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข 
การถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าตัดฟันคุด ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นแต่ไม่เกิน 300 บาทต่อครั้ง และไม่เกิน 600 บาทต่อปี
กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วนให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์และค่าฟันเทียมเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ใส่ฟันเทียมนั้น ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
     (ก) 1-5 ซี่ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 1,300 บาท
     (ข) มากกว่า 5 ซึ่ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท
กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์และค่าฟันเทียมเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปีนับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียมนั้น ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
     (ก) ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 2,400 บาท 
     (ข) ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปากบนและล่าง เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท

 

หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์กรณีทันตกรรม
 
ใบรับรองแพทย์ 
ใบเสร็จรับเงิน
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
เวชระเบียนของแพทย์ผู้รักษา(กรณีบิกฟันปลอมฐานอคริลิก)
กรณีขอรับเงินทางธนาคาร ให้แนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีดังนี้
 
  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY
  • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL
  • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) SCB
  • ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) TMB
  • ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) TBANK
  • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย IBANK (เริ่มใช้วันที่ 1 มกราคม 2550)
  • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) CIMB เดิมคือ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) 

ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครเขตพื้นที่ 1-12 แห่ง/จังหวัด/สาขา ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

 

 ข้อมูล ณ วันที่ 6 มีนาคม 2558
แหล่งที่มา : สำนักงานประกันสังคม
902
TOP