Skip to main content

สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน

กรณีปลูกถ่ายไขกระดูก

การปลูกถ่ายไขกระดูก
    
สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาลที่ทำการปลูกถ่ายไขกระดูก และได้ทำข้อตกลงกับสำนักงานประกันสังคม ดังนี้
ค่าบริการทางการแพทย์กรณีปลูกถ่ายไขกระดูก ตามหลักเกณฑ์และอัตรา ดังนี้
  • ค่าบริการทางการแพทย์นับแต่วันที่เริ่มต้นที่ผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาตัวในสถานพยาบาลเพื่อทำการปลูกถ่ายไขกระดูก จนถึงผู้ประกันตนได้รับการไขกระดูก (stem cell) เหมาจ่ายเป็นเงิน 500,000 บาท (ห้าแสนบาทถ้วน)
  • ค่าบริการทางการแพทย์นับตั้งแต่ที่ผู้ประกันตนได้รับไขกระดูก (stem cell) จนถึงวันที่จำหน่ายออกจากสถานพยาบาล เหมาจ่ายเป็นจำนวนเงิน 250,000 บาท (สองแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) 
     
ค่าบริการทางการแพทย์กรณีการตรวจเนื้อเยื่อ เพื่อปลูกถ่ายไขกระดูกสำหรับผู้ประกันตนในรายที่ไม่สามารถทำการปลูกถ่ายไขกระดูกได้ตามหลักเกณฑ์และอัตราดังนี้
  • ผู้ประกันตนจะต้องได้รับการอนุมัติจากสำนักงานให้เข้ารับการปลูกถ่ายไขกระดูกก่อนที่จะเข้ารับตรวจเนื้อเยื่อ
  • ค่าบริการทางการแพทย์กรณีการตรวจเนื้อเยื่อระหว่างผู้ประกันตนกับพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน และผลการตรวจเนื้อเยื่อไม่สามารถเข้ากันได้ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินรายละ 7,000 บาท (เจ็ดพันบาทถ้วน) จำนวนรายเท่าที่จ่ายจริง รวมทั้งผู้ประกันตนด้วย
 

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการปลูกถ่ายไขกระดูก

  1. ผู้ประกันตนจะต้องเจ็บป่วยด้วยโรคใดโรคหนึ่งดังต่อไปนี้ 
    1.1 มะเร็งเม็ดเลือดขาวมัยอีลอยด์ชนิดเรื้อรัง (Chornic myeloid leukemia) ในระยะเรื้อรัง (chornic phase) หรือระยะที่มีการดำเนินโรคเร็ว (accelerated phase) 
    1.2 มะเร็งเม็ดเลือดขาวมัยอีลอยด์ชนิดเฉียบพลัน (Acute myeloid leukemia) ในระยะที่โรคสงบโดยสมบูรณ์เป็นครั้งแรก (First complete remission) หรือระยะที่โรคสงบโดยสมบูรณ์เป็นครั้งที่ 2(second complete remission) 
    1.3 มะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟบลาสชนิดเฉียบพลัน (Acute lymphoblastic leukemia) ในระยะที่โรคสงบโดยสมบูรณ์เป็นครั้งแรก (First complete remission) หรือระยะที่โรคสงบโดยสมบูรณ์ครั้งที่ 2 (second complete remission) 
    1.4 มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Malignant lymphoma) ที่กลับเป็นอีก (relapse) หรือไม่ตอบสนอง(refractory) ต่อการให้ยาเคมีบำบัดตามมาตรฐานขั้นต้น (first line chemotherapy) หรือในรายที่มีความเสี่ยงสูง (high risk , high-intermediate risk โดย International prognostic index , IPI) ควรทำในระยะที่โรคสงบโดยสมบูรณ์เป็นครั้งแรก (First complete remission) หรือระยะที่โรคเข้าสู่ระยะสงบ (First partial remission) 
    1.5 ไขกระดูกฝ่อชนิดรุนแรง (Severe aplastic anemia) 
    1.6 มะเร็งเต้านม ที่มีการแพร่กระจายของมะเร็งไปที่ต่อมน้ำเหลืองเกิน 10 ต่อมแล้ว 
    1.7 ไขกระดูกผิดปกติระยะก่อนเป็นมะเร็ง (Myelodysplastic syndrome) ชนิดโลหิตจางแบบดื้อต่อการรักษาชนิดมีบลาสมาก (refractory anemia with excess blast) หรือโลหิตจางแบบดื้อต่อการรักษาชนิดมีบลาสมากและเซลล์อยู่ในระยะการเปลี่ยนแปลง (refractory anemia with excess blast in transformation )หรือไมอีโลโมโนไซติกลิวคีเมียชนิดเรื้อรัง (chronic myelomonocytic leukemia) 
    1.8 มะเร็งไขกระดูกชนิดมัยอีโลมา (Multiple myeloma)
  2. ผู้ประกันตนต้องไม่เป็นโรค 1.1,1.2,1.3,1.4,1.5,1.6,1.7 หรือ 1.8 มาก่อนที่จะเป็นผู้ประกันตน
  3. ผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยด้วยโรคในลำดับที่ 1.1,1.2,1.3,1.4,1.5,1.6,1.7 จะต้องมีอายุไม่เกิน 55 ปี และผู้ประกันตนที่ป่วยด้วยโรคในลำดับที่ 1.8 จะต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปี
  4. กรณีที่ผู้ประกันตนได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกแล้วกลับเป็นโรคเดิมซ้ำ ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิยื่นเรื่องขอรับการพิจารณาอนุมัติการปลูกถ่ายไขกระดูกใหม่
  5. ให้คณะกรรมการการแพทย์เป็นผู้ให้คำปรึกษาและแนะนำแก่สำนักงานในการพิจารณาอนุมัติให้ผู้ประกันตนเข้ารับการปลูกถ่ายไขกระดูก
  6. ให้ผู้ประกันตนที่ได้รับการอนุมัติให้ปลูกถ่ายไขกระดูก ไปเข้ารับบริการทางการแพทย์กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยด้วยเหตุหรือโรคอื่นๆ จากสถานพยาบาลที่เป็นผู้ให้บริการทางการแพทย์กรณีปลูกถ่ายไขกระดูกในช่วงระยะเวลาของกระบวนการปลูกถ่ายไขกระดูก
     
แนวปฏิบัติกรณีผู้ประกันตนขอรับประโยชน์ทดแทนในการปลูกถ่ายไขกระดูก
  
ผู้ประกันตนที่ประสงค์จะขอใช้สิทธิประโยชน์กรณีการปลูกถ่ายไขกระดูกจะต้องยื่นเอกสารขอรับสิทธิประโยชน์ 
กรณีปลูกถ่ายไขกระดูกต่อสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัด หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา ที่ผู้ประกันตนประสงค์จะขอใช้สิทธิ ทั้งนี้จะต้องแนบเอกสาร หลักฐานประกอบดังต่อไปนี้
 
สำเนาเวชระเบียนที่เกี่ยวข้อง
ความเห็นแพทย์ผู้รักษาในการปลูกถ่ายไขกระดูก
  • ให้คณะกรรมการการแพทย์หรือผู้ที่คณะกรรมการการแพทย์มอบหมายเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาให้ความเห็นชอบ 
    แก่ผู้ประกันตนตามข้อ 2 มีสิทธิได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกและให้เลขาธิการหรือผู้ที่เลขาธิการมอบหมายเป็นผู้อนุมัติ
  • สำนักงานประกันสังคมจะส่งตัวผู้ประกันตนที่ได้รับอนุมัติ เข้ารับการปลูกถ่ายไขกระดูกด้วยวิธี Allogeneic Trasplantation หรือ Autologous Transplantation ในสถานพยาบาลที่ทำข้อตกลงกับสำนักงานประกันสังคม ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
    • ให้บริการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อเพื่อการปลูกถ่ายไขกระดูกของผู้ประกันตน 
      ให้บริการปลูกถ่ายไขกระดูกจนสิ้นสุดกระบวนการทั้งกรณี Allogeneic Trasplantation และกรณี Autologous Transplantation
    • กรณีที่เป็นการทำปลูกถ่ายไขกระดูกด้วยวิธี Allogeneic Trasplantation กำหนดให้ผู้บริจากไขกระดูกจะต้องเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ประกันตน
    • สถานพยาบาลที่ทำการปลูกถ่ายไขกระดูกรับผิดชอบให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนเมื่อมีโรค หรืออาการแทรกซ้อนเนื่องจากการรักษาพยาบาลด้วยวิธีการปลูกถ่ายไขกระดูกเป็นระยะเวลาหนึ่งปี หลังการรักษาด้วยวิธีการปลูกถ่ายไขกระดูกเสร็จสิ้น
  สถานพยาบาลที่ทำการปลูกถ่ายไขกระดูกจะต้องเป็นสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล ในกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงานแก่ผู้ประกันตนเป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้รับอนุมัติให้มีสิทธิได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูก โดยสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ในอัตราเหมาจ่าย และค่าบริการทางการแพทย์อื่น ตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมเรื่องค่าบริการทางการแพทย์ สำหรับสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล หลังจากหนึ่งปีนับแต่ที่ผู้ประกันตนได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูก ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิเลือกสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล ตามเงื่อนไขที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด
 
ข้อมูล ณ วันที่ 22 มิถุนายน 2557
แหล่มที่มา : สำนักงานประกันสังคม
1995
TOP