Skip to main content

สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน

รับงานไปทำที่บ้าน

รับงานไปทำที่บ้าน

การรับงานไปทำที่บ้าน

การจ้างงานด้วยวิธีการให้รับงานไปทำที่บ้าน เป็นการจ้างงานนอกระบบที่มีมานานมีลักษณะเป็นงานหัตถกรรมครัวเรือน หรืองานที่ไม่ใช้เทคโนโลยี ซับซ้อนในการผลิต มีการตัดขั้นตอนบางขั้นตอน หรือชิ้นส่วนของงานบางชิ้นไปทำการผลิตหรือผลิตทั้งหมด

ในอดีตการรับงานไปทำที่บ้านเป็นเพียงอาชีพเสริม แต่ในปัจจุบันการรับงานไปทำที่บ้านได้กลายมาเป็นอาชีพหลักของครอบครัว

ในปัจจุบันการรับงานไปทำที่บ้านที่อยู่กระจัดกระจายทั่วประเทศทั้งในเขตเมืองและชนบท มีลักษณะการทำงานเป็นระบบมากขึ้น จำนวนผู้รับงานก็มี การขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะภายหลังที่เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจเมื่อกลางปี 2540 ส่งผลให้อุตสาหกรรมการผลิตหลายประเภทจำเป็นต้องปรับโครง สร้างการผลิตใหม่ โดยการปรับลดขนาดกิจการลง ส่งผลให้มีสถานประกอบการขนาดเล็กเพิ่มขึ้น และพบว่าสถานประกอบการขนาดเล็กจะมีการรับช่วง การผลิตมาทำเป็นทอดๆ มีการกระจายการผลิตสู่การใช้แรงงานตามหมู่บ้านหรือชุมชนต่างๆ ซึ่งนำไปสู่ “ระบบการรับงานไปทำที่บ้าน” ที่โตขึ้น
ความหมายของการรับงานไปทำที่บ้าน

งานที่รับไปทำที่บ้าน หมายความว่า งานที่ลูกจ้างรับจากนายจ้างไปผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อมหรือแปรรูปสิ่งของในบ้านของลูกจ้าง หรือสถานที่อื่น ที่มิใช่สถานประกอบกิจการของนายจ้างตามที่ได้ตกลงกันเพื่อรับค่าจ้าง โดยใช้วัตถุดิบหรืออุปกรณ์ในการผลิตของนายจ้างทั้งหมดหรือบางส่วน และโดยปกติ การทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใด หรือทั้งหมดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของนายจ้าง

 

ลักษณะและประเภทของการรับงานไปทำที่บ้าน

ลักษณะของการรับงานไปทำที่บ้าน เป็นงานที่ไม่ใช้เทคโนโลยีซับซ้อนในการผลิต มีการตัดขั้นตอนบางขั้นตอน หรือชิ้นส่วนของงานบางชิ้นไปทำการ ผลิตหรือผลิตทั้งหมด ลักษณะงานที่ส่งให้ทำเป็นงานที่สามารถเรียนรู้ได้ง่าย เป็นงานที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มักใช้แรงงานคนทำการผลิตมากกว่าใช้ เครื่องจักร สำหรับประเภทของการรับงานไปทำที่บ้าน มีทั้งประเภทงานที่ผลิตหรือประกอบขึ้นเพื่อใช้ภายในประเทศ หรือเพื่อการส่งออก เช่น การทำกระเป๋า รองเท้า เข็มขัด ซองโทรศัพท์มือถือ ประกอบไฟแช็ค วิกผม ตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป ดอกไม้ประดิษฐ์ เจียระไนพลอย แหวน และประกอบเครื่อง อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น

 

การส่งเสริมและพัฒนาผู้รับงานไปทำที่บ้าน

เพื่อให้การส่งเสริมการรับงานไปทำที่บ้านเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน กว้างขวางและครอบคลุมทุก จังหวัด กรมการจัดหางานจึงได้จัดตั้งสำนักงานทะเบียนผู้รับงานไปทำที่บ้านขึ้น ณ สำนักจัดหางานกรุงเทพ ทุกแห่ง และสำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อ ทำหน้าที่ในการพิจารณาจดทะเบียนจัดตั้งกลุ่ม ผู้ รับงานไปทำที่บ้าน ให้คำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับการรับงานไปทำที่บ้านต่อผู้รับงานไปทำที่บ้านและ กลุ่ม ผู้รับงานไปทำที่บ้าน ส่งเสริมและพัฒนาการรวมกลุ่มเพื่อสร้างความมั่นคงในการทำงาน และพัฒนาทักษะ ฝีมือของผู้รับงานไปทำที่บ้าน

 

การจดทะเบียนจัดตั้งกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน

การจดทะเบียนกลุ่ม เป็นการส่งเสริมการรับงานไปทำที่บ้านประการหนึ่งที่เสริมสร้างการรวมกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านให้เข้มแข็ง สร้างความมั่นคง ในการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เพื่อประโยชน์ในการรับงานไปทำที่บ้าน และสะดวกต่อการส่งเสริมพัฒนาความรู้ ทักษะ ฝีมือของผู้รับงานไปทำ ที่บ้าน โดยให้ผู้นำกลุ่มยื่นขอจดทะเบียน ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือสำนักจัดหางานกรุงเทพในพื้นที่ ที่กลุ่มตั้งอยู่ ซึ่งกลุ่มต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  1. มีสมาชิกไม่ต่ำกว่า 10 คน
  2. สมาชิกต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี บริบูรณ์
  3. มีผู้นำกลุ่ม
  4. มีวัตถุประสงค์ของกลุ่มที่ชัดเจน

 

หลักฐานที่ใช้ในการจดทะเบียนจัดตั้งกลุ่ม

  1. สำเนาทะเบียนบ้านของสมาชิกทุกคน
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของสมาชิกทุกคน

 

กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน

วัตถุประสงค์

  • กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้านมีวัตถุประสงต์เพื่อให้ผู้รับงานไปทำที่บ้านกู้ไปซื้อวัตถุดิบ และอุปกรณ์ในการผลิตหรือขยายการผลิตเพื่อสร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับผู้รับงานไปทำที่ บ้านหลักเกณฑ์และวิธีการขอกู้

 

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิกู้

  1. เป็นกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านที่ได้จดทะเบียนไว้กับกรมการจัดหางาน
  2. เป็นกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านที่มีการจัดการที่ชัดเจน
  3. เป็นกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านที่ดำเนินการร่วมกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน
  4. เป็นกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านที่มีทรัพย์สินหรือเงินทุนรวมกันไม่น้อยกว่า 10,000 บาท
  5. มีสถานประกอบการที่สามารถติดต่อได้

 

วงเงินกู้และการชำระคืน

วงเงินกู้ การชำระคืน
กู้ไม่เกิน 50,000 บาท กำหนดชำระคืนภายใน 2 ปี
กู้เกิน 50,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท กำหนดชำระคืนภายใน 4 ปี
กู้เกิน 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 200,000 บาท กำหนดชำระคืนภายใน 5 ปี

 

อัตราดอกเบี้ย

  • กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี

 

หลักประกันการกู้เงิน

หลักประกันการกู้เงินให้ใช้บุคคลค้ำประกัน และต้องมีคุณสมบัติดังนี้

(ก) มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี เมื่อรวมอายุผู้ค้ำประกันกับระยะ เวลาที่ชำระเงินกู้แล้วต้อง ไม่เกิน 60 ปี และ
(ข) เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานองค์กรของรัฐซึ่งมีเงินเดือน ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 6,000 บาท ไม่น้อยกว่า 2 คน หรือสมาชิกกลุ่มไม่น้อยกว่า 3 คน สำหรับ เงินกู้ไม่เกิน 50,000 บาท หรือ
(ค) เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานองค์กรของรับซึ่งมีเงินเดือน ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 10,000 บาท ไม่น้อยกว่า 2 คน หรือสมาชิกกลุ่มไม่น้อยกว่า 4 คน สำหรับ เงินกู้เกิน 50,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท หรือ
(ง) เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานองค์กรของรัฐซึ่งมีเงินเดือน ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 10,000 บาท ไม่น้อยกว่า 3 คน หรือสมาชิกกลุ่มไม่น้อยกว่า 5 คน สำหรับ เงินกู้ 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

 

เอกสารประกอบการยื่นกู้

(1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นกู้และผู้ค้ำประกัน หรือหลักฐานอื่นที่ทางราชการ ออกให้ซึ่งแสดงได้ว่าระบุถึงตัวผู้นั้น
(2) สำเนาทะเบียนบ้าน
(3) โครงการที่ขอกู้ และรายละเอียดการประกอบกิจการของกลุ่ม
(4) แผนผังที่อยู่อาศัยของผู้ยื่นกู้และที่ตั้งของสถานที่ทำงานของกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน
(5) สำเนาหลักฐานการจดทะเบียนกลุ่ม
(6) หนังสือยินยอมของคู่สมรส

 

สถานที่ที่สามารถใช้บริการ หรือติดต่อสอบถาม

  • สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด
  • สำนักจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ ทั้ง 10 แห่ง
  • หรือติดต่อสอบถามได้ที่กองส่งเสริมการมีงานทำ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน โทร. 0-2245-1126, 0-2245-1064 สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.vgnew-epd.com.
76207
TOP