Tabs หมวดหมู่ คำถาม - ตอบ
1. ต้องการไปทำงานต่างประเทศ โดยภาครัฐ
เป็นบริการของรัฐที่ส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศ "โดยไม่ต้องเสียค่าบริการ” นอกจากค่าใช้จ่ายที่จำเป็นเช่น ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าวีซ่า ค่าภาษี สนามบิน ค่าสมาชิกกองทุนฯ ค่าที่พักสำหรับเตรียมตัวก่อนเดินทาง
โครงการจัดส่งโดยรัฐ
โครงการจ้างตรง : ไต้หวัน
โครงการ IM : ประเทศญี่ปุ่น
โครงการ EPS : สาธารณรัฐเกาหลี
โครงการ TIC : ประเทศอิสราเอล
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ :
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ ชั้น 10 - 12
อาคารสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 3 กระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี
แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 หรือ http://www.overseas.doe.go.th/
โทรศัพท์ 0 2245 6499
2. ต้องการประกอบอาชีพอิสระ
ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 และพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548 ได้ให้สิทธิประโยชน์แก่นายจ้าง/เจ้าของสถานประกอบการในเรื่องการพัฒนาฝีมือแรงงานให้แก่ลูกจ้างในเรื่อง (1) สิทธิประโยชน์ด้านภาษีเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม สำหรับสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไป สามารถนำค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการฝึกอบรมให้แก่บุคลากรในองค์กรของตนทั้งก่อนรับเข้าทำงานและที่เป็นลูกจ้างอยู่แล้ว ไปหักลดหย่อนภาษีได้ 200 %
(2) สิทธิประโยชน์ด้านภาษีเกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
กองส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน อาคารด้านข้างกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ถนนมิตรไมตรี ดินแดง กรุงเทพ ฯ 10400 โทร. 0 2246 1937
สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด
3. ต้องการรับงานไปทำที่บ้าน
การรับงานไปทำที่บ้าน
การจ้างงานด้วยวิธีการให้รับงานไปทำที่บ้าน เป็นการจ้างงานนอกระบบที่มีมานานมีลักษณะเป็นงานหัตถกรรมครัวเรือน หรืองานที่ไม่ใช้เทคโนโลยี ซับซ้อนในการผลิต มีการตัดขั้นตอนบางขั้นตอน หรือชิ้นส่วนของงานบางชิ้นไปทำการผลิตหรือผลิตทั้งหมด
ในอดีตการรับงานไปทำที่บ้านเป็นเพียงอาชีพเสริม แต่ในปัจจุบันการรับงานไปทำที่บ้านได้กลายมาเป็นอาชีพหลักของครอบครัว
ในปัจจุบันการรับงานไปทำที่บ้านที่อยู่กระจัดกระจายทั่วประเทศทั้งในเขตเมืองและชนบท มีลักษณะการทำงานเป็นระบบมากขึ้น จำนวนผู้รับงานก็มี การขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะภายหลังที่เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจเมื่อกลางปี 2540 ส่งผลให้อุตสาหกรรมการผลิตหลายประเภทจำเป็นต้องปรับโครง สร้างการผลิตใหม่ โดยการปรับลดขนาดกิจการลง ส่งผลให้มีสถานประกอบการขนาดเล็กเพิ่มขึ้น และพบว่าสถานประกอบการขนาดเล็กจะมีการรับช่วง การผลิตมาทำเป็นทอดๆ มีการกระจายการผลิตสู่การใช้แรงงานตามหมู่บ้านหรือชุมชนต่างๆ ซึ่งนำไปสู่ "ระบบการรับงานไปทำที่บ้าน" ที่โตขึ้น
ความหมายของการรับงานไปทำที่บ้าน
ผู้รับงานไปทำที่บ้าน หมายความว่า บุคคลซึ่งรับงานจากเจ้าของงานหรือผู้ซึ่งรับมอบงานจากเจ้าของงาน ไปผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม หรือแปรรูปสิ่งของตามที่ได้ตกลงกันในบ้านของตนเอง หรือสถานที่ที่มิใช่สถานประกอบกิจการของเจ้าของงานหรือผู้ซึ่งรับมอบงานจากเจ้าของงาน เพื่อรับค่าจ้าง
กลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน หมายความว่า ผู้รับงานไปทำที่บ้านที่รวมตัวกันไม่ต่ำกว่าห้าคนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับงานประเภทเดียวกันไปทำที่บ้าน
ลักษณะและประเภทของการรับงานไปทำที่บ้าน
ลักษณะของการรับงานไปทำที่บ้าน เป็นงานที่ไม่ใช้เทคโนโลยีซับซ้อนในการผลิต มีการตัดขั้นตอนบางขั้นตอน หรือชิ้นส่วนของงานบางชิ้นไปทำการ ผลิตหรือผลิตทั้งหมด ลักษณะงานที่ส่งให้ทำเป็นงานที่สามารถเรียนรู้ได้ง่าย เป็นงานที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มักใช้แรงงานคนทำการผลิตมากกว่าใช้ เครื่องจักร สำหรับประเภทของการรับงานไปทำที่บ้าน มีทั้งประเภทงานที่ผลิตหรือประกอบขึ้นเพื่อใช้ภายในประเทศ หรือเพื่อการส่งออก เช่น การทำกระเป๋า รองเท้า วิกผม ตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป ดอกไม้ประดิษฐ์ เจียระไนพลอย และประกอบเครื่อง อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
การส่งเสริมและพัฒนาผู้รับงานไปทำที่บ้าน
เพื่อให้การส่งเสริมการรับงานไปทำที่บ้านเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน กว้างขวางและครอบคลุมทุก จังหวัด กรมการจัดหางานจึงได้จัดตั้งสำนักงานทะเบียนผู้รับงานไปทำที่บ้านขึ้น ณ สำนักจัดหางานกรุงเทพ ทุกแห่ง และสำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อ ทำหน้าที่ในการพิจารณาจดทะเบียนจัดตั้งกลุ่ม ผู้ รับงานไปทำที่บ้าน ให้คำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับการรับงานไปทำที่บ้านต่อผู้รับงานไปทำที่บ้านและ กลุ่ม ผู้รับงานไปทำที่บ้าน ส่งเสริมและพัฒนาการรวมกลุ่มเพื่อสร้างความมั่นคงในการทำงาน และพัฒนาทักษะ ฝีมือของผู้รับงานไปทำที่บ้าน
การจดทะเบียนจัดตั้งกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน
การจดทะเบียนกลุ่ม เป็นการส่งเสริมการรับงานไปทำที่บ้านประการหนึ่งที่เสริมสร้างการรวมกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านให้เข้มแข็ง สร้างความมั่นคง ในการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เพื่อประโยชน์ในการรับงานไปทำที่บ้าน และสะดวกต่อการส่งเสริมพัฒนาความรู้ ทักษะ ฝีมือของผู้รับงานไปทำ ที่บ้าน โดยให้ผู้นำกลุ่มยื่นขอจดทะเบียน ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือสำนักจัดหางานกรุงเทพในพื้นที่ ที่กลุ่มตั้งอยู่ ซึ่งกลุ่มต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
มีสมาชิกไม่ต่ำกว่า 5 คน
สมาชิกต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี บริบูรณ์
มีผู้นำกลุ่ม
มีวัตถุประสงค์ของกลุ่ม
หลักฐานที่ใช้ในการจดทะเบียนจัดตั้งกลุ่ม
สำเนาทะเบียนบ้านของสมาชิกกลุ่ม
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของสมาชิกกลุ่ม
ท่านสามารถรับบริการให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการรับงานไปทำที่บ้าน การจดทะเบียนจัดตั้งกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน การบริการกู้เงินกองทุนเพื่อรับงานไปทำที่บ้าน พร้อมทั้งรับลงทะเบียนผู้ว่าจ้างการรับงานไปทำที่บ้าน
ติดต่อสอบถามได้ที่
กองส่งเสริมการมีงานทำ ชั้น 14 อาคารกระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี ดินแดง กรุงเทพ ฯ 10400 โทร. 0 2245 1087 และ 0 2245 1064
สำนักจัดหางานเขตพื้นที่กรุงเทพฯ เขต 1 – 10 และสำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด
1. สวัสดิการแรงงาน
ถาม : นายจ้างไม่มีสวัสดิการใดๆ เลยจะทำอย่างไร
ตอบ : นายจ้างมีหน้าที่ต้องจัดสวัสดิการให้ครบทุกประเภทและ ตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด อาทิจัดให้มีน้ำสะอาดสำหรับดื่ม จัดห้องน้ำ และ ห้องส้วมสำหรับลูกจ้างชายและลูกจ้างหญิง จัดสิ่งจำเป็นในการปฐมพยาบาลและการรักษาพยาบาล เป็นต้น ส่วนสวัสดิการอื่นๆ นอกจากที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดนายจ้างมีอำนาจจัดขึ้นได้เองตามความ เหมาะสม หากนายจ้างไม่มีสวัสดิการใดๆ เลย ท่านสามารถแจ้งพนักงานตรวจแรงงานเพื่อดำเนินการตรวจสอบให้นายจ้างปฏิบัติตาม กฎหมาย
1. สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้รับอะรบ้าง
เงินทดแทนการขาดรายได้
- เมื่อนอนโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยในตั้งแต่ 2 วันขึ้นไป จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 200 บาทต่อวัน ไม่เกิน 20 วันต่อปี
เงื่อนไข : จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 ใน 4
เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ
- รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาท ต่อเดือนเป็นเวลานานถึง 15 ปี
เงื่อนไข : เงินทดแทนฯ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป
ค่าทำศพ
- เงินค่าทำศพ 20,000 บาท
เงื่อนไข : จ่ายเงินสมทบ 6 ใน 12 เดือน
เงินบำเหน็จชราภาพ
- รับเงินก้อน เมื่ออายุ 60 ปี
เงื่อนไข : อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์
สอบถามเพิ่มเติม : สายด่วน 1506 กด 1
สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 1 – 11 หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดทุกจังหวัด
หรือ http://www.sso.go.th