Skip to main content

สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน

Unemployment

กรณีว่างงาน

 
 หลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์ 
หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านมีสิทธิ คือ เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีว่างงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน (ถูกเลิกจ้างหรือลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา) โดยไม่มีความผิดตามกฎหมาย 
 
  
 เงื่อนไขการเกิดสิทธิ์
 
ต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วันนับแต่วันที่ว่างงาน โดยไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน เพื่อเป็นการแสดงสิทธิ์ในเบื้องต้น
มีความสามารถในการทำงาน และพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดหาให้
ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน
ต้องรายงานต่อเจ้าหน้าที่สำนักจัดหางาน ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
 
ผู้ที่ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกรณี 
   ทุจริตต่อหน้าที่ 
   กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง 
   จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย 
   ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณีร้ายแรง 
   ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร 
   ประมาทเลินล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง 
   ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา
ต้องมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ 
มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 นับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย
ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39
 
 
 สิทธิที่ท่านจะได้รับประโยชน์ทดแทน
กรณีถูกเลิกจ้าง 
ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 5,000 บาท
กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา 
ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 3,000 บาท
เมื่อผู้ประกันตนสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (ลาออก) สามารถใช้สิทธิประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือน โดยมิต้องเสียค่าใช้จ่าย (กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพและกรณีเสียชีวิต)
ประโยชน์ทดแทนทุกกรณีเมื่อมีสิทธิต้องยื่นเรื่องรับเงินภายใน 1 ปี เว้นแต่ กรณีว่างงานผู้ประกันตนจะต้องยื่นขึ้นทะเบียนว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐ ต้องยื่นสิทธิภายใน 30 วัน หลังจากถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน หากยื่นสิทธิเกินกว่า 30 วัน จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง และหากยื่นสิทธิเกินวันที่จะได้รับสิทธิไปแล้ว จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน
หมายเหตุ ในกรณียื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเพราะเหตุถูกเลิกจ้าง หรือเหตุถูกเลิกจ้างและลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างเกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนทุกครั้ง รวมกันไม่เกิน 180 วัน แต่ในกรณียื่นขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเพราะเหตุลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง เกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนรวมกันไม่เกิน 90 วัน 
    
 
 หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทน
 
แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)
บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตนออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส. 6 -09) กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส.6-09 ก็สามารถไปขึ้นทะเบียนกรณีว่างงานได้
หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน ผ่าน 9 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

 
 ขั้นตอนและวิธีการขอรับประโยชน์ทดแทน
ต้องไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักจัดหางาน กรมการจัดหางาน
กรอกแบบฟอร์มใบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน พร้อมด้วยหลักฐานดังนี้ 
บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
กรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน พร้อมด้วยหลักฐานดังนี้ 
หนังสือรับรองการออกจากงาน หรือสำเนาแบบแจ้งการออกจากงาน (สปส 6-09) หรือ หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างที่ให้ออกจากงาน สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชี
เจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานทำการสัมภาษณ์/ตรวจสอบคุณสมบัติและประวัติการทำงาน
เจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานทำการเลือกตำแหน่งงานว่างให้เลือก 3 แห่ง ให้ผู้ประกันตนกรณีว่างงานได้พิจารณา
 
หากยังไม่มีงานที่เหมาะสม เจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานจะประสานงานส่งฝึกอบรมแรงงานตามความจำเป็น แต่หากผู้ประกันตนกลับเข้าทำงานในสถานประกอบการ หรือปฏิเสธงานหรือปฏิเสธการฝึกงานที่จัดหาให้และไม่ไปรายงานตัวตามที่กำหนด สำนักงานประกันสังคมจะงดจ่ายประโยชน์ทดแทนทันที
เจ้าหน้าที่จะทำการบันทึกสถานะผู้ประกันตนกรณีว่างงานเข้าสู่ฐานข้อมูลกลาง
เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมดึงข้อมูลผู้ประกันตนกรณีว่างงานขึ้นมาวินิจฉัยตามเงื่อนไขการเกิดสิทธิ
เมื่อคุณสมบัติครบถ้วน สำนักงานประกันสังคมทำการโอนเงินทดแทนการขาดรายได้ตามสิทธิให้ผู้ประกันตน ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน เดือนละ 1 ครั้ง
หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่พอใจคำสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
  
 
 สำหรับผู้ประกันตนต่างด้าว

ด้วยสำนักงานประกันสังคม ได้จัดทำแนวปฏิบัติการพิจารณาวินิจฉัยประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานสำหรับผู้ประกันตนต่างด้าว
  
  
 หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ผู้ประกันตนต่างด้าวต้องมีการนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยยกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนการ
ว่างงาน ไม่เป็นผู้มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ (อายุยังไม่ครบ 55 ปีบริบูรณ์) เป็นผู้ว่างงาน
เนื่องจากนิติสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างตามสัญญาสิ้นสุดลง

 
 การพิจารณาคุณสมบัติของผู้ประกันตนต่างด้าว
ตรวจสอบหลักฐานและข้อเท็จจริงการได้รับอนุญาตให้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เช่น หลักฐานที่ได้รับอนุญาตให้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย (Visa) วันสิ้นสุดของใบอนุญาตการทำงานหลักฐานใบแจ้งยกเลิกการอนุญาตทำงาน ซึ่งเจ้าหน้าที่กรมการจัดหางานรรับรอง ฯลฯ หากพบว่าผู้ประกันตนไม่ได้รับอนุญาตให้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย ให้พิจารณาปฏิเสธการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานตั้งแต่วันที่หลักฐานการได้รับอนุญาตให้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย (Visa) สิ้นสุดลง
กรณีที่ได้รับแจ้งจากสำนักจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่/สำนักงานจัดหางานจังหวัด/สาขา ว่าผู้ประกันตนต่างด้าวปฏฺิเสธการทำงานให้พิจารณาปฏิเสธการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานตั้งแต่วันที่นายจ้างแสดงความประสงค์ว่าจ้างให้ผู้ประกันตนต่างด้าวทำงาน
กรณีผู้ประกันตนต่างด้าวได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ครบถ้วนแล้ว และมีสิทธิได้รรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานแต่ได้เดินทางออกจากประเทศไทย ให้ถือว่าผู้ประกันตนต่างด้าวมีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ทดแทนนั้น ส่วนการสั่งจ่ายเงินประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานให้ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติของสำนักงานประกันสังคม

 
 หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทน
แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)
หลักฐานการได้รับอนุญาตให้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย (Visa)
หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างที่ให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
สำเนาใบแจ้งยกเลิกการอนุญาตทำงาน ซึ่งเจ้าหน้าที่กรมการจัดหางานรับรอง
สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ ซึ่งมีชื่อและเลขบัญชีของผู้ยื่นคำขอรับสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน ผ่าน 9 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

ยื่นได้ที่กรมการจัดหางานของรัฐที่ไหนก็ได้ที่สะดวก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทรสายด่วน 1694 ในวันและเวลาราชการ 08.30-16.30 น.

ข้อมูล ณ วันที่ 6 มีนาคม 2558
แหล่งที่มา : สำนักงานประกันสังคม
305187
TOP