Skip to main content

สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน

Voluntary Insurance (M 39)

ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (ม.39)

 
 คุณสมบัติของผู้สมัคร
  1. เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน
  2. ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม
     
 การยื่นใบสมัคร
  1. ต้องยื่นใบสมัครตามแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (แบบ สปส. 1-20) ด้วยตนเอง ภายใน 6 เดือน นับแต่วันออกจากงาน
  2. สถานที่ยื่นใบสมัคร 
    กรุงเทพฯ ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 
    ภูมิภาค ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา
     

 หลักฐานการสมัครมาตรา 39 

  1. แบบขอเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 (สปส.1-20)
  2. บัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่าย ซึ่งทางราชการออกให้พร้อมสำเนา
เงินสมทบที่ต้องนำส่งสำนักงานประกันสังคม 
เดือนละ 432 บาทต่อเดือน 

  
      เงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาทเท่ากันทุกคน โดยคิดจากอัตราเงินสมทบ 9% (4,800 x 9% = 432 บาทต่อเดือน) ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี (กรณีเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีสงเคราะห์บุตรและกรณีชราภาพ) ต่อเนื่องจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 
หมายเหตุ สำหรับในปี 2555 คณะกรรมการประกันสังคมเห็นชอบให้มีการปรับลดเงินสมทบ สำหรับผู้ประกันตนตน โดยสมัครมาตรา 39 ดังนี้
      – ครึ่งปีแรก ตั้งแต่งวดเดือนมกราคม 2555 ถึง งวดเดือนมิถุนายน 2555 อัตราร้อยละ 5 โดยให้ผู้ประกันตนนำส่งเงินสมทบเดือนละ 240 บาท (4,800 x 5% = 240 บาทต่อเดือน)
      – ครึ่งปีหลัง ตั้งแต่งวดเดือนกรกฎาคม 2555 ถึง งวดค่าจ้างเดือนธันวาคม 2555 อัตราร้อยละ 7 โดยผู้ประกันตนนำส่งเงินสมทบเดือนละ 336 บาท (4,800 x 7% = 336 บาทต่อเดือน)
      – สำหรับเงินสมทบในปี 2556 ทางสำนักงานประกันสังคมให้ผู้ประกันตนนำส่งเงินสมทบตามปกติ คือ ร้อยละ 9 ต่อเดือน ผู้ประกันตนนำส่งเงินสมทบเดือนละ 432 บาทต่อเดือน (4,800 x 9% = 432 บาทต่อเดือน) 
 
 วิธีการจ่ายเงินสมทบมาตรา 39 

จ่ายที่สำนักงานประกันสังคมขตพื้นที่/จังหวัด/สาขา พร้อมแบบส่งเงินสมทบฯ (สปส. 1-11)
 
หักจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์มี 5 ธนาคาร 
  1. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  3. ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
  4. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  5. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  6. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
  
จ่ายด้วยเงินสดที่ 
  1. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  3. จ่ายผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส 7- ELEVEN ซึ่งจะมีค่าธรรมเนียมรายการละ 10 บาท สามารถจ่ายเงินสมทบได้ทุกสาขา 
     
 หน้าที่ของผู้ประกันตนตามมาตรา 39
  1. ต้องนำส่งเงินสมทบภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน หากเกินกำหนดต้องเสียเงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน
  2. แจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงให้สำนักงานประกันสังคมดังนี้ 
           กรณีเปลี่ยนแปลงสถานที่ติดต่อ ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน ตามแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงสถานที่ติดต่อ (สปส. 1-34) 
           กรณีเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล หรือแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ ต้องแจ้งทันทีพร้อมแนบสำเนาหลักฐาน 
           กรณีประสงค์ลาออกหรือกลับเข้าทำงาน และมีสถานะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรทันทีตามแบบแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (สปส.1-21)
      
 เหตุที่ทำให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสภาพ
  1. ตาย
  2. กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33
  3. ลาออก
  4. ไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน (สิ้นสภาพตั้งแต่เดือนแรกที่ไม่ส่งเงินสมทบ)
  5. ภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน (สิ้นสภาพในเดือนที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน)
หมายเหตุ 
 
สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้เข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ทำงานในสถานประกอบการ/นายจ้างใหม่) นายจ้างหรือผู้รับมอบอำนาจสามารถดำเนินการแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่เข้าทำงาน โดยผู้ประกันตนไม่ต้องไปดำเนินการลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (สปส.1-21) แต่อย่างใด ยกเว้น กรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 39 มีการค้างชำระเงินสมทบจะต้องไปดำเนินการแจ้งการลาออก (สปส.1-21) ด้วยตนเอง ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่สมัครไว้
119419
TOP